วันศุกร์ที่ 30 มกราคม พ.ศ. 2552






อาหารไทย 4 ภาค
อาหารภาคเหนือ ส่วนใหญ่รสชาติไม่จัด ไม่นิยมใส่น้ำตาลในอาหาร ความหวานจะได้จากส่วนผสมของอาหารนั้นๆ เช่น ผัก ปลา และนิยมใช้ถั่วเน่าในการปรุงอาหาร คนเหนือมีน้ำพริกรับประทานหลายชนิด อาทิ น้ำพริกหนุ่ม น้ำพริกอ่อง ผักที่ใช้จิ้มส่วนมากเป็นผักนึ่ง ส่วนอาหารที่รู้จักกันดีได้แก่ ขนมจีนน้ำเงี้ยว ที่มีเครื่องปรุงสำคัญขาดไม่ได้คือ ดอกงิ้ว ซึ่งเป็นดอกนุ่มที่ตากแห้ง ถือเป็นเครื่องเทศพื้นบ้านกลิ่นหอม หรืออย่างตำขนุน แกงขนุน ที่มีส่วนผสมเป็นผักชนิดอื่น เช่น ใบชะพลู ชะอม และมะเขือส้ม






น้ำพริกอ่อง คือ น้ำพริกทางเหนือประเภทผัดที่ข้นด้วยเนื้อหมูสับปนมันเล็กน้อยกับเนื้อมะเขือส้มลูกเล็ก ตำรับโบราณจะใส่ถั่วเน่าด้วย จึงมีกลิ่นหอมเป็นพิเศษ ถั่วเน่าเป็นเครื่องปรุงอาหารเหนือที่นิยมใส่ในอาหารแทนกะปิ น้ำพริกอ่อง มีสีแดงส้มจากสีของพริกแห้งและมะเขือส้ม มีน้ำมันสีแดงลอยหน้า รสเปรี้ยว หวาน เค็ม กลมกล่อม กินคู่กับแคบหมูและผักสดตามชอบ โดยเฉพาะแตงกวา ถั่วฝักยาว มะเขือเปราะ จะเข้ากันได้อย่างดี นับเป็นอาหารยอดนิยมอีกจานหนึ่งที่แพร่หลายอยู่ในกรุงเทพฯด้วยเช่นกัน






น้ำพริกอ่อง เครื่องปรุง


พริกแห้งเม็ดใหญ่แกะเมล็ดออกแช่น้ำ 5 เม็ด
เนื้อหมูติดมันบด 3 ช้อนโต๊ะ
มะเขือส้ม 1 ถ้วย
ผักชีเด็ดเป็นใบ 1 ต้น
หอมแดงซอย 3 ช้อนโต๊ะ
กระเทียมซอย 5 กลีบ
กระเทียมสับ 3 กลีบ
ตะไคร้ซอย 1 ช้อนโต๊ะ
เกลือป่น 1 ช้อนชา
ถั่วเน่าชนิดแผ่นปิ้งไฟให้หอม 1 แผ่น
น้ำมันพืช 2 ช้อนโต๊ะ
ผักสด เช่น แตงกวา ถั่วฝักยาว กระถิน ถั่วพู
ผักต้ม เช่น ถั่วฝักยาว มะเขือ ผักบุ้ง หัวปลี ยอดแค ฟักทอง




วิธีทำ 1. โขลกพริกแห้ง ตะไคร้ เกลือเข้าด้วยกันให้ละเอียด ใส่หอมแดง กระเทียมซอยและถั่วเน่า โขลกต่อให้เข้ากัน ใส่หมูบดโขลกให้เข้ากัน ใส่มะเขือส้มโขลกเบา ๆ ให้เข้ากัน


2. ใส่น้ำมันลงในกระทะ ตั้งไฟกลาง ใส่กระเทียมสับ เจียวให้หอม ใส่พริกที่โขลกลงผัดให้หอม ลดไฟให้อ่อน ผัดพอแห้งน้ำขลุกขลิก


3. ตักใส่ถ้วย โรยใบผักชี รับประทานกับผักสดและผักต้ม


หมายเหตุ ถั่วเน่าซื้อได้ที่ร้านขายอาหารเหนือที่ตลาด อ.ต.ก. ตลาดนัดสวนจตุจักร และร้านขายอาหารมังสวิรัต ถ้าไม่มีถั่วเน่าใส่ กะปิแทนในปริมาณ 2 ช้อนชา






อาหารภาคกลางมีความหลากหลายมาก และเป็นอาหารที่คนเกือบทั้งประเทศคุ้นเคยรู้จัก อาหารภาคกลางมีทั้งรสเค็ม เปรี้ยว หวานและเผ็ดรวมกัน อาหารหลายจานของภาคกลางจัดเป็นอาหารจานสมุนไพรชั้นเยี่ยม เช่น ต้มยำกุ้ง ที่หอมกรุ่นด้วยข่า ตะไคร้ ใบมะกูด และหอมหัวแดง หรือขนมจีนน้ำพริก ที่มีกลิ่นหอมเป็นพิเศษจากน้ำมะกรูด กินกับใบไม้ดอกไม้มากมาย หรือสะเดาน้ำปลาหวาน ที่เกิดจากความชาญฉลาดของคนโบราณที่นำเอาผักที่มีรสขมมันอย่างดอกสะเดามากินกับรสหวานของน้ำปลาหวาน ทำให้เกิดความสมดุลในรสชาติอร่อยเฉพาะตัว
ต้มยำกุ้ง เป็นการปรุงอาหารชนิดหนึ่งของคนไทย ประเภทน้ำแกง เครื่องเทศที่ขาดไม่ได้เลย คือ ข่า ตะไคร้ ใบมะกรูด หริกขี้หนู น้ำมะนาว ต้มยำทำได้หลายชนิดมีทั้งต้มยำปลา ต้มยำเห็ด ต้มยำไก่ และต้มยำกุ้ง สำหรับต้มยำกุ้ง นับเป็นอาหารไทยที่โด่งดังเป็นที่ ่รู้จักไปทั่วโลก ทั้งแง่ความอร่อย และยังเป็นอาหารจานสมุนไพรต้านมะเร็งอีกด้วย ต้มยำกุ้งตำรับดั้งเดิมนั้นน้ำแกงใสมีกลิ่นหอม ปัจจุบันต้มยำกุ้งถูกดัดแปลงให้น้ำข้นสีสวยด้วยน้ำพริกเผาหรือบางครั้งก็เติมน้ำกะทิหรือนมสดลงไป




ต้มยำกุ้ง เครื่องปรุง
กุ้งกุลาดำ ตัวละ100 กรัม 5 ตัว
เห็ดฟางผ่าครึ่ง 100 กรัม
พริกขี้หนูสวนทุบพอแตก 10 เม็ด
ข่าอ่อนทั้งแว่น 5 แว่น
ตะไคร้หั่นเฉียง 1 ต้น
ใบมะกรูดฉีก 3 ใบ
น้ำปลา 3 1/2 ช้อนโต๊ะ
น้ำมะนาว 3 ช้อนโต๊ะ
น้ำซุป 3 ถ้วย

วิธีทำ
1. ล้างกุ้ง แกะเปลือก เด็ดหัวไว้หาง ผ่าหลัง ดึงเส้นดำออก
2. ใส่น้ำซุปลงในหม้อ ตั้งไฟกลางพอเดือด ใส่ข่า ตะไคร้ ใบมะกรูด
3. น้ำซุปเดือดใส่กุ้ง เห็ดฟาง พอกุ้งสุกเป็นสีชมพู เดือดอีกครั้งปรุงรสด้วยน้ำปลา น้ำมะนาว ใส่พริกขี้หนู ยกลง
4. ตักใส่ชาม รับประทานร้อน ๆ
อาหารภาคใต้ นับเป็นอาหารที่มีรสชาติจัดจ้า มีรสเผ็ดจัดและชอบใส่เครื่องเทศมากๆ โดยเฉพาะขมิ้น เพื่อดับกลิ่นคาวของอาหารทะเลจำพวก กุ้ง หอย ปู ปลา คนใต้ชอบกินผักกับอาหารแทบทุกชนิด เพื่อช่วยลดความเผ็ด ผักที่กินกันมากได้แก่ สะตอ กระถิน ถั่วฝักยาว ถั่วพู แตงกวา แตงร้าน อาหารจานเดียวแบบฉบับชาวใต้ คือ ข้าวยำปักษ์ใต้ ที่ประกอบด้วยเครื่องเครามากมาย ตั้งแต่มะพร้าวขูดคั่ว กุ้งแห้งป่น ตะไคร้ ใบมะกรูด ดอกดาหลา ถั่วฝักยาว ใบชะพลู ส้มโอ ถั่วงอกแตงกวา มะนาว เป็นต้น ส่วนอาหารจานเด่นได้แก่ แกงไตปลา ที่อุดมด้วยหน่อไม้ ถั่วฝักยาว ฟักทอง มันเทศ เมล็ดมะม่วงหิมพานต์ มะเขือเปราะ มะเขือพวง หรืออย่างเคยคั่ว ที่เป็นน้ำพริกเครื่องจิ้มกับผักเหนาะ เช่น หัวปลี สะตอ ลูกเนียง ลูกเหรียง ยอดกระถิน มะเขือต่างๆ
เครื่องปรุง
สะตอนำมาแกะเอาเม็ด ประมาณ 1 ถ้วย
หมูสามชั้นหั่นเป็นชิ้นๆ ประมาณ 15 ชิ้น
กะปิอย่างดี ประมาณ 1-2 ช้อน
พริกชี้ฟ้าหั่นยาวๆ ประมาณ 4-5 เม็ด
หอมแดงหั่นหยาบ ประมาณ 3-4 หัว
กระเทียมปอก ประมาณ 7-8 กลีบ
น้ำตาล ประมาณ 1-2 ช้อน
น้ำมะนาว ประมาณ 1-2 ช้อน
น้ำปลา และน้ำมันพืช
วิธีทำ
1. นำหอม กระเทียมมาโขลกรวมกันกับกะปิให้ ละเอียด ตักมาพักไว้ก่อน
2. กระทะตั้งไฟใส่น้ำมันพืชลงไปพอสมควร
3. ใส่หอมกระเทียมและกะปิที่โขลกลงไปผัดใน กระทะให้หอม แล้วจึงใส่หมูที่หั่นแล้วลงไปผัดให้เข้ากัน
4. แล้วใส่เม็ดสะตอที่แกะเตรียมเอาไว ผัดรวม กันในกระทะ
5. ใส่น้ำปลา น้ำตาล และ น้ำมะนาว ปรุงรส และผัดให้พอสะตอสุก
6. ก่อนยกลง ให้ใส่พริกชี้ฟ้าหั่นยาวลงไปและ ตักไปรับประทานได้

อาหารภาคอีสาน (ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ) มีรสชาติเด่น คือ รสเค็มจากน้ำปลาร้า รสเผ็ดจากพริกสด พริกแห้ง รสเปรี้ยวจากผักพื้นบ้าน เช่น มะขาม มะกอก อาหารส่วนใหญ่มีลักษณะแห้ง ข้น มีน้ำขลุกขลิก แต่ไม่ชอบใส่กะทิ คนอีสานใช้ปลาร้าเป็นเครื่องปรุงอาหารแทบทุกชนิด เช่น ซุปหน่อไม้ อ่อม หมก น้ำพริกต่างๆ รวมทั้งส้มตำ อาหารอีสานที่รู้จักกันอย่างแพร่หลาย ได้แก่ ปลาร้าบ้อง ที่อุดมด้วยพืชสมุนไพร เช่น ข่า ตะไคร้ หอมแดง กระเทียม ใบมะกรูด มะขามเปียก หรืออย่างแกงอ่อม ที่เน้นการใช้ผักหลายชนิดตามฤดูกาลเป็นหลัก รสชาติของแกงอ่อมจึงออกรสหวานของผักต่างๆ รสเผ็ดของพริก กลิ่นหอมของเครื่องเทศและผักชีลาว หรืออย่างต้มแซบ ที่มีน้ำแกงอันอุดมด้วยรสชาติและกลิ่นหอมของเครื่องเทศและผักสมุนไพรเช่นกัน

น้ำพริกปลาร้า เครื่องปรุง
ปลาร้าอย่างดี 200 กรัม
ปลาทูสดหรือปลาช่อน 500 กรัม
พริกชี้ฟ้า 100 กรัม
กระเทียมเป็นหัว 60 กรัม
พริกขี้หนูสวน 20 กรัม
น้ำมะนาว 5-6 ช้อนโต๊ะ
ผักชีเด็ดใบ 2-3 ต้น
วิธีปรุง
1.ทำความสะอาดปลาทูสดหรือปลาช่อน นำไปต้มสุกแล้วแกะเอาแต่เนื้อออก
2. นำเนื้อปลาในข้อ 1 ไปย่าง
3. ต้มปลาร้าจนสุก กรองเอาแต่น้ำ พักไว้
4. นำหอมกระเทียมมาเผาและคั่วพริกพอสุกโดยไม่ต้องใส่น้ำมัน
5.นำหอมเผา พริกขี้หนู กระเทียมโขลกเข้าด้วยกัน ใส่เนื้อปลาต้มและเติมน้ำปลาร้า
6. พอประมาณ กะให้ความข้นพอดีไม่ข้นหรือใสเกินไป ปรุงด้วยน้ำมะนาวให้รสกลมกล่อม
7. กับรสเค็มของปลาร้า โรยด้วยผักชีเด็ดใบรับประทานกับผักสด ผักต้ม ฯลฯ
คำศัพท์เกี่ยวกับผัก

Holy basil = กระเพรา
Dill = ผักชีลาว
Stink weed = ผักชีฝรั่ง
Mint = สะระแหน่
Sweet basil = โหรพา
Coriander = ผักชี
Cumin = ยี่หร่า
Green shallot = ต้นหอม
Chinese chive = กุยช่าย
Cabbage = กะหล่ำปลี
Lead tree = กระถิน
Pepper(wild ) = ชะพลู
Lettuce = ผักกาดหอม
Chinese kale = คะน้า
Flowering cabbage = ผักกวางตุ้ง
Spinach = ปวยเล้ง
Sesbania flower = ดอกแค
Cauli flower = ดอกกะหล่ำ
Pumpkin flower = ดอกฟักทอง
Chinese chive flower = ดอกกุยช่าย
Flwering cabbage = ดอกกวางตุ้ง
Cassia flower = ดอกขี้เหล็ก
Neem flower = ดอกสะเดา
Banana flower = ดอกหัวปลี
Phak flower = ดอกผักเสี้ยน
Broccoli = บร็อกโคลี่

วันพฤหัสบดีที่ 29 มกราคม พ.ศ. 2552










สุภาษิตไทย
สุภาษิต คือ สำนวนโวหารที่แสดงถึงความคิดสูง และสืบทอดมาแต่โบราณ แสดงถึงความเจริญของวัฒนธรรมทางด้านภาษา ซึ่งแต่ละภูมิภาค แต่ละท้องถิ่น และแต่ละชุมชน กระทั่งแต่ละเหล่าอาชีพก็มีสำนวนของใครของมันคล้ายกันบ้าง แตกต่างกันไปบ้าง ทั้งนี้เพราะที่มาไม่เหมือนกันแต่โดยความหมายมักเทียบเคียงกันได้ แม้แต่ภาษาต่างวัฒนธรรมก็ยังมีส่วนคล้ายกันในทางอุปมา
สำนวน
ความหมาย ได้แก่คำที่พูดหรือกล่าวออกมาทำนองเป็นโวหาร เป็นคำพังเพยเปรียบเทียบ จึงฟังแล้วมักจะ ไม่ได้ความหมายของตัวมันเอง ต้องนำไปประกอบกับบุคคล กับเรื่อง หรือเหตุการณ์จึงจะได้ความหมายเป็น คติ เตือนใจเช่นเดียวกับคำที่เป็นสุภาษิต
คำพังเพย
หมายถึง ถ้อยคำที่เรียบเรียงขึ้นมาเป็นความหมายกลาง ๆ คือ ไม่เน้นการสั่งสอน แต่ก็แฝงคติเตือนใจหรือ ข้อคิดสะกิดใจให้นำไปปฏิบัติได้ และ เนื้อหาของใจความนั้นก็ไม่จำเป็นว่าจะต้องเป็นความดี หรือ ความจริงแท้ แน่นอน
คำคม
หมายถึง ถ้อยคำที่คิดขึ้นมาในปัจจุบันทันด่วน เป็นถ้อยคำที่หลักแหลม ซึ่งสามารถเข้ากับเหตุการณ์นั้น ได้อย่างเหมาะเจาะ ทั้งยังชวนให้คิด ถ้าพูดติดปากกันต่อไปก็จะกลายเป็นสำนวนไปได้

ตัวอย่างสำนวนสุภาษิตไทย
กงกำกงเกวียน หมายถึง เวรสนองเวร กรรมสนองกรรม

กระต่ายหมายจันทร์ หมายถึง หวังในสิ่งที่เกินตัว


กินไข่ขวัญ หมายถึง ได้มาซึ่งของรักของหวงของผู้อื่น


เกาะชายผ้าเหลือง หมายถึง อาศัยพระหรือวัดในการกระทำหรือรับสิ่งต่าง


เทศน์ไปตามเนื้อผ้า หมายถึง อบรมสั่งสอนไปตามสถานะการณ์ในตอนนั้น






อยู่บ้านท่านอย่านิ่งดูดาย ปั้นวัวปั้นควายให้ลูกท่านเล่น ความหมาย บ้านผู้อื่นไม่ควรทำตัวเป็นคนอยู่เฉยๆ ควรช่วยเหลืองานในบ้านเท่าที่จะทำได้ เป็นการแบ่งเบาภาระของเจ้าของบ้าน เช่น ตุ๊กตาไปพักอยู่กับน้าชายที่บ้าน ตุ๊กตาต้องช่วยน้าชายทำความสะอาดบ้านและงานบ้านที่ทำได้ อย่าอยู่เฉยๆ เป็นต้น


กินปูนร้อนท้อง หมายถึง บุคคลที่กินหมากจะมีความรู้สึกว่าร้อนท้อง


โอกาสที่ใช้ : เมื่อมีบุคคลบใดมาพูดถึงความผิดอย่างใดอย่างหนึ่ง โดยยังไม่รู้ตัวผู้กระทำผิด แต่ผู้ที่ทำผิดกลับร้อนตัวขึ้นมา เอง ออกมาปฎิเสธอย่างเอาเป็นเอาตาย เลยทำให้ผู้อื่นรู้ว่าผู้นั้นได้ทำความผิดแน่นอน เช่น ครูยังไม่ได้บอกว่าตาหวานทำแจกันแตก เพียงแต่บอกว่าแจกันแตกเท่านั้นเอง ตาหวานอย่าเพิ่งทำเป็น " กินปูนร้อนท้อง" ไปก่อนเลย


เงาตามตัว หมายถึง ผู้ที่ไปไหนมาไหนด้วยกันเกือบตลอดเวลาและแทบไม่คลาดกันเลย หรือสิ่งของต่างๆ ที่เพิ่มขึ้นหรือลดลงเป็นเงาตาม

ตัวโอกาสที่ใช้ : เปรียบเทียบเพื่อให้เห็นผล ของการกระทำสิ่งหนึ่งสิ่งใดแล้วเกิดผลตามมาอีกอย่างหนึ่ง เช่น เมื่อน้ำท่วมทำให้ผักเสียหาย ย่อมทำให้ราคาของผักแพงขึ้นเป็นเงาตามตัว




อ่านขำๆนะคะเพื่อนๆๆๆๆๆ

สำนวน สุภาษิตไทย


อาจาร์ยที่ร.ร.เราเล่าให้ฟังว่าหลานครูเราที่ยังเด็กๆอยู่นะเจอข้อสอบภาษาไทยเค้าจะทำเป็นสำนวน สุภาษิต
มาให้เติมสำนวน สุภาษิตให้สมบูณ์


ข้อสอบข้อ๑ : "มือไม่พาย______"
หลานครู : "เรือไม่ไป"
ข้อสอบข้อ๒ : "รักวัวให้ผูกรักลูกให้___"
หลานครู : "อุ้ม"
ข้อสอบข้อที่๓ : "รำไม่ดี___"
หลานครู : "หมูไม่กิน"
พอตอนเย็นกลับมาหลานครูก็เล่าให้ฟังเรื่องที่สอบ
ครู : ทำไมถึงตอบอย่างนั้นละ
หลาน : เอ้า!!! ถ้ามือไม่พายแล้วเรือจะไปได้ยังไงละฮะ
ครู : แล้วข้อ๒ละ
หลาน : เอ้า!!! ก็รักลูกก็ต้องอุ้มสิฮะ ลูกจะได้รู้ว่าแม่รักเค้า
ครู : - -* แล้วข้อ๓ละทำหมูไม่กิน
หลาน : ก็อาจาร์ยเค้าอ่านไม่ชัดนิฮะ ว่า รอ.เรือ หรือ ลอ.ลิงผมก็นึกว่า ลอ.ลิง


***ครูเราก็เลยบอกว่าเด็กมันก็ฉลาดตอบได้ตรงดีอาจจะเพี้ยนไปบ้างนะลืมๆละ***


*** เอ่อ ไม่ฮาอย่าว่านะ***













วันจันทร์ที่ 5 มกราคม พ.ศ. 2552

แนะนำตัว



ชื่อ จันทิรา เวียงจันทร์ ชื่อเล่น กุ้งจ้า
เกิด 11 เมษายน 2531

อายุ 20ปี
กำลังศึกษาที่ มหาวิทยาลัยราชภัฏราชนครินทร์
คณะครุศาสตร์ โปรแกรมวิชาภาษาไทย ปี2

คติประจำใจ ฝันให้ไกล ไปให้ถึง
สิ่งที่ชอบ ความสวยงาม
สิ่งที่เกลียด ความหลอกลวง